วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554

ความเกี่ยวข้องระหว่างวัฒนธรรมกับภาษา

วัฒนธรรมและภาษา
๑.ความเกี่ยวข้องระหว่างวัฒนธรรมกับภาษา
วัฒนธรรม หมายถึง ระบบการดำเนินชีวิตรวมถึงเครื่องอุปโภค บริโภค สถาบัน ประเพณี ศิลปะ และความรู้สึกต่อสิ่งต่าง ๆ หรือ สิ่งที่มนุษย์สร้างเพื่อประโยชน์ต่อสังคมของตน สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจะไม่ถือว่าเป็นวัฒนธรรม ภาษาเป็นส่ิงที่มนุษย์สร้างภาษาจึงจัดว่าเป็นวัฒนธรรม
๒.มนุษย์กับวัฒนธรรม
มนุษย์เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและเป็นสัตว์สังคมฝูงสัตว์มีวัฒนธรรมของฝูงที่มีลักษณะเห็นได้ง่ายเช่นมีการลงโทษ
เมื่่อเมื่อสมาชิกในฝูงทำผิด มีจ่าฝูงระมัดระวังอันตราย ในฝูงสัตว์นั้นอาจเทียบว่ามีสถาบันการปกครอง
คล้าย ๆกับที่มนุษย์มี มนุษย์มีความเจริญก้าวหน้ามากกว่าสัตว์ สถาบันแรกที่มนุษย์มีคล้ายกับสัตว์ในฝูงคือสถาบันการปกครอง มีผู้นำ มีรองหัวหน้าเพื่อปกครองสังคมตนเอง ต่อมาคือสถาบันสืบสกุล พอมนุษย์เจริญขึ้นและมีวัฒนธรรมที่ซับซ้อนขึ้น มนุษย์ก็มีสถาบันต่าง ๆ มากมาย ที่ขาดไม่ได้คือสถาบันศาลสถิตยุติธรรม เพราะคนเราเมื่ออยู่รวมกันมากย่อมมีเหตุกระทบกระทั่งกันจึงต้องมีผู้คอยให้การตัดสินเป็นไปแบบยุติธรรม
ถาบันที่ขาดไม่ได้คือสถาบันศาสนาเพราะถือว่าเป็นสถาบันที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในสังคมไม่ให้ตกเป็นทาสของ
กิเลิสมากเกินไป ศาสนาส่วนใหญ่มีศาสดาของตนเอง
๓. ความหลากหลายของวัฒนธรรม
วัฒนธรรมของกลุ่มคนต่าง ๆ มีความแตกต่างกันด้วยสาเหตุหลายประการต่อไปนี้
๑. ภูมิอากาศ
เมื่ออากาศแตกต่างกันมนุษย์ในแต่ละพื้นที่ย่อมมีความเป็นอยู่ไม่เหมือนกันเช่นคนกรุงเทพฯกับคนเชียงราย
จะมีสภาพสังคมที่แตกต่างกัน
๒. ที่ตั้ง มนุษย์ที่อยู่ตามที่ต่าง ๆ กันไปอาจมีประเพณีแตกต่างกันไปเช่น คนที่อยู่ริมน้ำก็มีประเพณีแข่งเรือ
๓. ความอุดมสมบูรณ์หรือความแร้นแค้น   มนุษย์ที่อยู่ในที่อุดมสมบูรณ์มักมีความอารีเผื่อแผ่ต่างกับมนุษย์ที่อยู่ในสภาพความแร้นแค้น
ย่อมมีอุปนิสัยไม่ค่อยดี
๔.  กลุ่มชนแวดล้อม กลุ่มชนแวดล้อมมีผลกระทบต่อวัฒนธรรมกลุ่มชนที่อยู่ใกล้เคียง
๕. นักปราชญ์หรือประมุขของกลุ่มชน 
เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม
   เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม  คือแบบแผนของการมีชีวิตของมนุษย์ในวัฒนธรรมหนึ่งๆ
ที่แสดงให้เห็นว่าแตกต่างกับวัฒนธรรมอื่น ๆ  เช่น  ภาษาไทยก็แสดงความเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของไทย
สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของไทยประกอบด้วย
๑.  ความไม่กีดกันคนต่างชาติต่างภาษา  ทุกคนอยู่ในเมืองไทยอย่างมีความสุข
๒.  เสรีภาพทางศาสนา  ทุกคนสามารถนับถือศาสนาใดก็ได้ถ้าอยู่ในเมืองไทย
๓.  ความรักสงบ 
๔.  ความพอใจการประนีประนอม
๕.  การไม่แบ่งชั้นวรรณะ
ภาพสะท้อนวัฒนธรรมจากภาษา
    ภาษาไทยสะท้อนวัฒนธรรมของคนไทยดังนี้
๑.  ภาษาไทยมีคำแสดงความลดหลั่นชั้นเชิงจำนวนมาก เช่นคำเรียกเครือญาติ 
คำราชาศัพท์  คำเรียกยศ  คำเรียกปริญญา 
๒. ภาษาไทยมีการใช้คำแทนตัว เป็นคำบอกเครือญาติ  คำบอกอาชีพ  คำบอกตำแหน่ง คำสรรพนามแทนตัว
๓.  คำไทยแท้มักใช้ในการสนทนาหรือการสื่อสารที่ไม่เป็นทางการแต่จะใช้ภาษาอื่นในการสนทนา
หรือสื่อสารอย่างเป็นทางการ
๔. ภาษาไทยมีคำศัพท์แสดงความละเอียดในการกล่าวถึงเรื่องใกล้ตัวแต่ละคำเป็นอิสระจากกัน คำขยายมีมากกว่าภาษาอื่น
    และมีคำศัพท์เฉพาะของวิชาเช่นศัพท์ทางดนตรี  นาฎศิลป์ เป็นต้น
๕. ภาษาไทยแต่เดิมไม่ค่อยมีคำที่มีความหมายเป็นกลาง ๆใช้เรียกรวมครอบคลุมส่ิงต่าง ๆ ที่อยู่ในหนวดหมู่เดียวกัน เมื่อจำเป็นต้องเรียกเป็นคำรวมจึงต้องยืมมาจากภาษาอื่นเช่น สัตว์
ที่ยืมมาจากภาษาบาลีสันสกฤต 
ภาษามาตรฐาน
ภาษามาตรฐาน  คือ  สำเนียงสำนวนที่คนที่ได้รับการศึกษาจากโรงเรียนจำนวนมากใช้คล้ายคลึงกัน
และไม่รังเกียจว่าผิดหูแปลกหู
ความนิยมในการใช้ถ้อยคำคล้องจองในภาษาไทย
    คนไทยนิยมใช้คำคล้องจองมาแต่โบราณจะสังเกตจากชื่อสถานที่  ชื่อตำราเรียน และคำประพันธ์ทุกชนิด
ภาษากับการพัฒนาและสืบทอดวัฒนธรรม
    ภาษาทำให้มนุาย์พัฒนาวัฒนธรรมและช่วยให้มนุษย์ธำรงและสืบทอดวัฒนธรรมได้
วรรณคดีกับวัฒนธรรม
    วรรณคดีของชนกลุ่มใดย่อมสะท้อนวัฒนธรรมของชนกลุ่มนั้น วรรณคดีของคนไทยสะท้องวัฒนธรรม
ของคนไทยที่นิยมความรื่นเริง  ความสนุกสนานและสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนแต่ละสมัย
ภาษาถิ่นกับวัฒนธรรม
        ภาษาถิ่นมีคุณค่าทางประวัติของคำคำบางคำที่ปรากฏในภาษามาตรฐาน
ถ้าไม่แน่ใจเรื่องความหมายเราสามารถนำมาเทียบกับภาษาไทยถิ่นได้
ศัพท์ที่ควรทราบเกี่ยวกับวัฒนธรรม
    ศัพท์บางคำที่มีความหมายไม่แจ่มแจ้งแก่คนทั่วไป มักใช้ในความหมายต่างที่ต่างกันศัพท์เหล่านี้มาจากควาคิดของคนตะวันตก
ประกอบด้วย
    สังคม มีความหมายเป็นนามธรรม คือความนึกคิดรวมกับค่านิยมของชุมชนหนึ่ง ๆ
    สถาบัน คือ กฏเกณฑ์และประเพณีที่เกี่ยวเนื่องซึ่งหมู่ชนสร้างขึ้นหรือจัดตั้งให้มีขึ้น
เพื่อประโยชน์แก่หมู่คณะของตนรวมกับคณะบุคคลที่มีส่วนสำคัญต่อกฏเกณฑ
์และประเพณีนั้น รวมถึงความยกย่องเชื่อถือที่หมู่ชนให้แก่คณะบุคคล
กฏเกณฑ์และประเพณีที่เกี่ยวเนื่องเหล่านั้นด้วย 
    ประเพณหมายถึง พฤติกรรมที่เคยกระทำมาตั้งแต่บรรพบุรุษหลายชั่วอายุคนสืบทอดกันมา
จนถึงขั้นลูกหลาน
    ค่านิยม  หมายถึง ความรู้สึกที่ไม่เกี่ยวกับความเจ็บปวดหรือความเพลิดเพลินทางกาย
อาจเป็นความรู้สึกของหมู่ชนรวมกันหรือบุคคลเฉพาะคนก็ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น